UPS มือสอง ได้รึเปล่า

 UPS มือสอง ได้รึเปล่า?

กิจการต่างๆ ที่ดำเนินการไปได้ดี ต้องมีส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะ เกี่ยวกับสำนักงาน อาจจะเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์ หรือ อุปกรณ์สำนักงานประเภทไอทีเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อมีของเหล่านี้เอาไว้ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างภายใน หรือ ภายนอก องค์กร ก็ต้องมีพื้นที่เก็บให้กับเจ้าสิ่งเหล่านี้ ยิ่งใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงได้อย่างคุ้มค่ามากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น โดยเฉพาะขณะที่ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานต่างๆ ก็เป็นค่าต้นทุนโสหุ้ยที่สิ้นเปลืองพอสมควรที่ต้องจ่ายกันทุกๆเดือน

ดังนั้นการเก็บอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ใช้แล้ว หมดประโยชน์ แต่ที่กินพื้นที่สำนักงานอันแสนแพง นั้นก็ต้องถูกกำจัดออกไป หนึ่งในนั้นก็คือ เครื่องสำรองไฟ หรือ UPS ซึ่งย่อมาจาก Uninterrupted Power Supply แปลตรงตัวว่า แหล่งจ่ายพลังงานที่ไม่โดนขัดจังหวะ หรือมีเสถียรภาพนั่นเอง ทุกบริษัท ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลในเครื่องคอมฯ ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมันหายไป ด้วยสาเหตุจาก ความเสียหาย ของคอมฯ ที่ ถูกตัดไฟ โดยบังเอิญ ก็คงจะแย่กันใหญ่ จึงต้องมีเครื่องสำรองไฟ หรือ ยูพีเอสเอาไว้ใข้ ป้องกันความเสียหายนั้น

แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกสิ่งอย่างก็ต้องมีการเสื่อมทรุด ก็ต้องมีการบำรุงรักษา หรือ ที่เราเรียกกันว่า แมนแทแน้น (เค้าจะพูดกันว่า "ค่าแมนแทแน้นสูง" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Maintenance ก็คือค่าบำรุงรักษาสูงนั่นเอง หรือ ในส่วนของการบำรุงรักษาส่วนย่อยหนึ่ง ก็คือ การเปลี่ยนเพียงแค่ชิ้นส่วนบางอย่างในตัวอุปกรณ์นั้นๆ ทั้งๆที่มันยังใช้ได้อยู่ อ้าว แล้วเปลี่ยนทำไม? ก็เพื่อให้มันทำงานได้ดียิ่งขึ้น หรือ ที่เรียกกันว่า "อัพเกรด" upgrade โดยเฉพาะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นิยมอัพเกรดกันพอสมควร เพราะประหยัดกว่า แต่ต้องใช้ความชำนาญและความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อว่าเมื่อทำการอัพเกรดแล้วจะนำไปใช้ในอนาคตให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นจริงๆ ไม่เสียเปล่า บางรายไม่อัพเกรดแต่เปลี่ยนใหม่หมดเลยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว แต่เราต้องมั่นใจว่าสามารถสร้างประสิทธิภาพในการใช้งานได้เพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเพิ่มจริงๆ

กลับมาที่เครื่องสำรองไฟ เป็นสิ่งที่กินพื้นที่พอสมควร และมีมากเท่าจำนวนคอมพิวเตอร์ คอมฯ สามารถถูกอัพเกรดได้ แต่เครื่องสำรองไฟไม่สามารถอัพเกรดได้ ในวงการของมือสอง มีการรับซื้ออุปกรณ์ที่เลิกใช้แล้วจากสำนักงาน แบบ เหมารวม คือ รับซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง และก็มีผู้พยายาม นำเครื่องสำรองไฟที่อัพเกรดไม่ได้ และ เสื่อมคุณภาพแล้วมาปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้ในราคาถูกเอามาขายเป็นของมือสองอีกทอดนึง โดยมีวิธีการสำคัญ สองอย่างคือ ต้องเปลี่ยนไส้แบตเตอรี่ ที่เอาไว้เก็บพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ภายใน รอเมื่อเวลาไฟดับก็นำออกมาใช้ แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานเมื่อเสื่อมก็ต้องเปลี่ยนอันใหม่ เหมือนแบตฯ มือถือ นี่คืออย่างแรก และ อย่างที่สอง คือ หม้อแปลงไฟ ที่อยู่ในตัวยูพีเอสก็จะเสื่อมสภาพเช่นกัน จึงควรเปลี่ยนหม้อแปลงไฟด้วย

เพราะงั้นผู้ค้าของมือสองที่ต้องการนำเครื่องสำรองไฟเก่ามาเปลี่ยนใส้ในใหม่ ให้ใช้งานได้ ก็ ต้อง มีเงื่อนไขพอจะคุ้มค่าก็คือ เครื่องสำรองไฟที่รับซื้อมาจำนวนเยอะๆ ต้องเป็นรุ่นเดียวกันหมด เพื่อที่จะได้สั่งซื้อแบตเตอรี่ รุ่นเดียวกัน หม้อแปลงไฟรุ่นเดียวกัน และ ผู้ที่ติดตั้งตรวจสอบก็จะได้ผู้ชำนาญ ทำโอกาสผิดพลาดน้อยลง เพราะทำอยู่รุ่นเดียว ไม่ต้องโยกไปมา รุ่นโน้นที รุ่นนี้ที ส่วนราคาซากเครื่องสำรองไฟเก่าที่รับซื้อมาจากบริษัทที่เลิกใช้แล้วมันก็เป็นราคาที่ถูกมาก เมื่อนำมาบวกค่าแบตเตอรี่ใหม่ บวกค่าหม้อแปลงตัวใหม่ ค่าแรงติดตั้งอะไหล่ทั้งสองนี้ ก็จะได้ต้นทุน ของยูพีเอสมือสองที่ใช้งานได้ดี สามารถรับประกันลูกค้าได้ และนำไปขายต่ออีกทอด

แต่อนิจจาว่าเป็นนิยายไป ต่างคนต่างความคิด บ้างก็ขายได้ดีมีกำรี้กำไรเป็นล่ำเป็นสัน ด้วยเหตุผลว่า ผู้ค้ายูพีเอสมือสองลงทุนค่าแบตฯ ค่าหม้อแปลงไฟ และ ค่าแรง ไปไม่แพงเนื่องจากซื้อจำนวนเยอะ และ เป็นผู้ติดตั้งตรวจสอบเองไม่ต้องไปจ้างใคร พอได้ต้นทุนรวมกันออกมามันก็ไม่มากเกินไป แถมขายเอาไปให้คนอื่นใช้ในราคาไม่แพง ของก็ขายหมด ลูกค้าก็คิดตรงกันว่าจะไปจ่ายแพงกว่าทำไม ในเมื่อทำงานได้เหมือนกัน และจ่ายเพียงแค่นี้ก็คุ้มค่าแล้วกับ ความอุ่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลในคอมฯ พอมาอีกรายนึงกลับเป็นตรงข้าม ขาดทุนไปตามๆกัน ด้วยเหตุผล ที่ว่า ต้นทุนแพงเพราะซื้ออะไหล่ที่จะมาเปลี่ยนทีละน้อยๆ ค่าแรงก็ต้องจ้างเขาหมด พอถึงเวลาก็บวกกำไรเยอะ ลูกค้าก็ถอยหนี บ้างก็อ้างไม่มีใครเสี่ยงซื้อของมือสองเพื่อไปปกป้องข้อมูลราคาแพง ใครอยากเป็นผู้ค้าแบบไหน อยากเป็นผู้ซื้อแบบไหน ก็เลือกเอาว์....

ยูพีเอสมือสอง ได้ไม๊?

 

Visitors: 929,900